นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ ผู้คนส่วนมากก็ได้ปรับตัวให้เข้ากับ “วิถีชีวิตใหม่” ในหลากหลายแง่มุม ซึ่งอาจมีทั้งการทำงานหรือการเรียนจากที่บ้าน การเว้นระยะห่างทางสังคม และการสวมใส่หน้ากากอนามัยในพื้นที่สาธารณะอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบวิชาชีพการดูแลสุขภาพกลับแทบที่จะไม่มีตัวเลือกให้เลย คือผู้ป่วยยังคงต้องมาที่โรงพยาบาลแล้วเข้ารับการตรวจรักษากันต่อหน้าเช่นเคย เพราะเชื้อโควิด-19 นั้นไม่ได้ทำให้โรคร้ายอื่น ๆ หยุดทำงานไปด้วย
ประกอบกับความกังวลต่อการติดเชื้อไวรัสหากระมัดระวังไม่เพียงพอแล้ว จึงส่งผลให้การตอบสนองหรือการเข้าดูแลรักษาผู้ป่วยทำได้ช้าลงกว่าเดิม ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมองเกิดข้อกังวลเช่นนี้ขึ้นทุกหนทุกแห่ง เนื่องจากในกรณีของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น เวลานับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอยู่เสมอ
Dr. Ana Gomes, the stroke unit coordinator from Tondela-Viseu Hospital Centre who is also Portugal’s RES-Q Coordinator and an ardent supporter of the Angels Initiative, was one of the physicians concerned by how the pandemic affected the treatment speed of stroke patients.
โปรตุเกสได้จัดการสัมมนาผ่านเว็บช่วงโควิด-19 ไปเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 และสังเกตพบว่าในโรงพยาบาลหลายแห่งมีรายงานการรอคอยที่นานขึ้น ระยะเวลา DTN ที่ช้าลง และข้อกังวลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโควิด-19 ด้วยการทำงานบนฐานของข้อมูล เธอจึงต้องการเห็นด้วยตนเองว่าการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ส่งผลต่อการเดินทางของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายในโรงพยาบาลของตนอย่างไรบ้าง
เนื่องจากเป็นหนึ่งในตัวอย่างอันโดดเด่นของประเทศโปรตุเกส ทีมงานโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลนี้จึงพร้อมต่อการเรียนรู้ด้วยการจำลองสถานการณ์และฝึกฝนการตรวจสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ (เป็นทีมที่ลงทะเบียนผู้ป่วยใน RES-Q จำนวนมากที่สุดในโปรตุเกส) โดยมีหลักฐานคือการกวาดรางวัล ESO-Angels Awards มาถึง 9 รางวัล ซึ่ง 5 รางวัลคือรางวัลระดับเพชร
ในขณะนี้ โรงพยาบาลเริ่มกลับคืนสู่สภาวะปกติบ้างแล้ว แต่ระหว่างช่วงการแพร่ระบาดสูงสุดนั้น หน่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องย้ายไปอีกห้องหนึ่งเพื่อให้พื้นที่แก่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 นอกจากนั้นยังต้องพบกับปัญหาอีกจำนวนหนึ่ง นั่นคือต้องให้พยาบาลของหน่วยโรคหลอดเลือดสมองทุกคนเข้ารับการกักตัวถึง 14 วัน
ระเบียบการที่นี่คือให้ปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทุกคนเสมือนติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย เมื่อผู้ป่วยที่อาจเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาถึงห้องฉุกเฉิน บุคลากรจะต้องสวมชุด PPE แต่กระบวนการอย่างอื่นยังคงเป็นเช่นเดิม ซึ่งรวมถึงการแจ้งเตือนล่วงหน้า (ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาสวมชุด PPE) การตรวจเลือดแบบด่วน การส่งตัวเพื่อตรวจ CT โดยตรง และการรักษาที่เครื่อง CT
หากต้องสงสัยว่าผู้ป่วยอาจติดเชื้อมาด้วย ให้ดำเนินการตรวจ CT ช่องอกหลังจากรักษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อการตรวจทางรังสีวิทยาทั้งหมดเสร็จสิ้น (รวมถึงรังสีหลอดเลือด) จะนำตัวผู้ป่วยมายังห้องฉุกเฉินเพื่อเก็บตัวอย่างสำหรับตรวจเชื้อโควิด-19 และให้ผู้ป่วยพักอยู่ในห้องฉุกเฉินนี้จนกว่าจะได้รับผล ในกรณีที่อาจจำเป็นต้องรับการรักษาโดยใช้อุปกรณ์ลากลิ่มเลือด จะดำเนินการเคลื่อนย้ายและรับตัวผู้ป่วยเหมือนเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19
ในเดือนพฤษภาคม 2562 ดร. Gomes เห็นควรว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องประเมินระเบียบการนี้โดยจำลองสถานการณ์ และหลังจากได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการแผนกฉุกเฉินแล้ว เธอก็ได้เชิญ Claudia Queiroga ที่ปรึกษา Angels มาสังเกตการณ์ด้วย
“The main difference I could see was the PPE. People who were around the patient had to wear a set, and those who didn’t had to guard their distance. Dressing into one seemed a bit frustrating but the team were very efficient as they were already used to it,” she noted.
ผลการจำลองสถานการณ์ทำให้ทุกคนที่เข้าร่วมต้องประหลาดใจ โดยเฉลี่ยแล้ว เวลาที่ทีมงานใช้และสมรรถนะในการทำงานมีความแตกต่างจากช่วงก่อนหน้าการแพร่ระบาดไม่มากนัก การจำลองสถานการณ์นี้เป็นสัญญาณบ่งบอกทีมว่า ถึงแม้จะมีความกังวลต่าง ๆ มากมาย แต่โควิด-19 ก็ไม่ได้มีผลต่อการเตรียมรับมือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญเท่าใดนัก หากเราหมั่นฝึกฝนทุกขั้นตอนสำคัญ เช่น การสวมชุด PPE อย่างรวดเร็ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเป็นไปเองตามธรรมชาติไม่ต่างจากช่วงเวลาก่อนเกิดการแพร่ระบาด