ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
โรมาเนีย

การสัมภาษณ์ที่ปรึกษา Angels

RES-Q พูดคุยกับ Cristina Stanciu เกี่ยวกับสถานะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรมาเนีย
Angels team 23 ตุลาคม 2562
Recently, RES-Q sat down with Cristina Stanciu, Angels Initiative Consultant in Romania, to talk about the state of stroke care in the country. Read the full interview below, originally posted on RES-Q's blog.  

 
โรมาเนียเริ่มต้นอย่างไรใน ESO EAST
ในโรมาเนีย รศ. ดร. Cristina Tiu มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในโครงการ ESO-EAST ในฐานะผู้ประสานงานของกลุ่มโรมาเนียและภายใต้การประสานงานของเธอ โรมาเนียได้เข้าร่วมกับ ESO-EAST ในปี 2015
 
การประเมินคุณภาพครั้งแรกของการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรมาเนียดำเนินการโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ESO-EAST โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมในฐานข้อมูล RES-Q
 
โรมาเนียให้ข้อมูลกับ RES-Q ตั้งแต่เริ่มต้นช่วงนำร่องในปลายปี 2016 การดูตัวเลขที่แท้จริงของคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองช่วยได้อย่างไร
การบันทึกข้อมูลคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองช่วยให้เราสามารถระบุส่วนที่มีปัญหาในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลได้และปรับปรุงให้ดีขึ้น
 
นี่คือการปรับปรุงบางอย่างที่มีการบันทึกไว้ในโรมาเนียตลอดช่วงสามปีที่ผ่านมา
  1. สัดส่วนของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการเปิดหลอดเลือดนั้นเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญจาก 2.24% ในปี 2017 เป็น 5.19% ในปี 2018 และ 8.99% ในปี 2019 ในศูนย์ที่เข้าร่วม RES-Q
  2. ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนได้รับการรักษาลดลงจากค่าเฉลี่ย 67 นาทีในปี 2017 เหลือ 58 นาที และ 53 นาทีใน 2018-2019
  3. สัดส่วนของผู้ป่วยที่คัดกรองด้วยอาการกลืนลำบากภายใน 24 ชั่วโมงตั้งแต่เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นจาก 1.99% ในปี 2017 เป็น 47.87% ในปี 2018 และลดลงเป็น 34.7% ในปี 2019 สาเหตุที่ลดลงเนื่องจากมีโรงพยาบาลใหม่เข้าร่วมโครงการ 
การบันทึกข้อมูลใน RES-Q เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้มุมมองต่อสถานการณ์ที่ชัดเจนในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและกระตุ้นให้ทั้งประเทศปรับปรุงการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
 
คุณอยากเห็นอะไรต่อไปใน RES-Q
ฉันคิดว่าการมีข้อมูลจากโรงพยาบาลหลายแห่งจะทำให้เห็นภาพรวมสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายในประเทศได้ดีขึ้น
 
คุณคิดว่าสิ่งที่มีส่วนช่วยมากที่สุดในการลดความไม่เสมอภาคของการดูแลโรคหลอดเลือดสมองคืออะไร
ในความเห็นของฉันสิ่งที่มีส่วนช่วยมากที่สุดในการลดความไม่เสมอภาคของการดูแลโรคหลอดเลือดสมองคือการศึกษา
 
เราเห็นความแตกต่างของการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในทุกด้าน ตั้งแต่การขาดความตระหนักในปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง และอาการที่เกิดขึ้นจากการมาถึงห้องฉุกเฉินล่าช้าและระยะเวลารอที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงการป้องกันและการจำแนกโรคหลอดเลือดสมอง โดยการให้ความรู้แก่สาธารณะและชุมชนบริการสุขภาพ แน่นอนว่าการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ยังพัฒนาไปได้ยิ่งกว่านี้  
 
สถานการณ์ปัจจุบันของการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศโรมาเนียเป็นอย่างไร
โรมาเนียเป็นประเทศที่มีประชากร 19.3 ล้านคน โดยในทุก ๆ ปี มีผู้ป่วยราว 60,000 คนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ ในโรมาเนีย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุอันดับที่สองของการเสียชีวิตและพิการ ตามข้อมูลรายงานโรคหลอดเลือดสมองในปี 2015 มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชาวโรมาเนียเพียง 1% เท่านั้นที่เข้าถึงการรักษาในหน่วยโรคหลอดเลือดสมอง
 
หลังจากทราบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ เนื่องจากมีสิ่งที่สามารถทำได้และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข สมาคมประสาทวิทยาและกระทรวงสาธารณสุขโรมาเนียได้ดำเนินโครงการระดับชาติที่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของเครือข่ายโรงพยาบาลที่พร้อมรักษาโรคหลอดเลือดสมอง 
 
ด้วยการดำเนินโครงการนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019 โรมาเนียจึงได้ประโยชน์จากการเป็นหนึ่งในเครือข่ายโรคหลอดเลือดสมองที่เติบโตเร็วที่สุดในยุโรปตะวันออก: มีศูนย์โรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นสามเท่า จาก 11 แห่ง เป็นมากกว่า 40 แห่ง ภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ในขณะนี้มีศูนย์โรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 38 แห่งในประเทศโรมาเนีย และเรากำลังทำงานอย่างหนักเพื่อให้ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองทั้ง 43 แห่งสามารถรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำได้ภายในสิ้นปีนี้ 
 
 
 
คุณคิดว่าทัศนคติของคนทั่วไป (ไม่ใช่แพทย์) ต่อโรคหลอดเลือดสมองเปลี่ยนไปหรือไม่ มีโครงการสร้างความตระหนักที่กำลังดำเนินงานอยู่ตอนนี้ในโรมาเนียหรือไม่
เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อให้สามารถจำแนกสัญญาณและอาการของโรคหลอดเลือดสมองในเบื้องต้นได้
 
ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อต้นปีที่ผ่านมา การมีโรงพยาบาลที่พร้อมรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 32 แห่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับพวกเราในโรมาเนีย ในระยะเริ่มต้นนี้ จุดมุ่งเน้นจะอยู่ที่การให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางของผู้ป่วย (ผู้ให้บริการฉุกเฉินและบุคลากรบริการรถพยาบาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในโรงพยาบาลที่จะร่วมโครงการ)
 
การศึกษาของประชากรเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึงและสามารถทำได้ผ่านแคมเปญสื่อต่าง ๆ (โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์) หรือแคมเปญการศึกษาโดยแพทย์ประจำครอบครัวที่มีความสามารถในการเข้าถึงในวงกว้าง ทั้งกลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงสูง และรวมถึงในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่จะสามารถตอบสนองได้ทันที หากผู้ปกครองหรือปู่ย่าตายายมีอาการจากโรคหลอดเลือดสมอง
 
ในขณะนี้มีแคมเปญสร้างความตระหนักหลายโครงการที่ดำเนินการอยู่ในประเทศของเราซึ่งทำงานแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค แต่ไม่ว่าอย่างไร ก็ยังต้องเพิ่มจำนวนแคมเปญเหล่านี้

More stories like this

ใหม่
มาเลเซีย

First Angels Day in Malaysia

Malaysia's first-ever Angels Day in Kuala Lumpur successfully fostered collaboration, shared knowledge, and set a clear strategy for advancing stroke care across the region.
บราซิล

Eight thousand heroes and counting

In northeast Brazil, the Angels team took the FAST Heroes campaign to some of the country’s most vulnerable communities and came away inspired. Here they share their experience.
อาร์เจนตินา

A Plan Comes Together in Mendoza

In Mendoza in Argentina we raise our glasses to a telestroke success story involving two doctors – one who had the misfortune of suffering a stroke, and one who had the privilege of treating him.
เข้าร่วมชุมชน Angels
Powered by Translations.com GlobalLink Web Software