มีประเทศในยุโรป 50 ประเทศ แต่มีเพียง 12 ประเทศที่มีที่ปรึกษา Angels แม้เราจะอยากให้มีที่ปรึกษา Angels ที่อุทิศตนในทุกประเทศ เรารู้ว่าเนื่องจากโครงการยังอยู่ในระดับเริ่มต้น เราจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้ดีที่สุด โดยการจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะเพิกเฉยว่ามีผู้ป่วยนับไม่ถ้วนในประเทศอื่น ๆ ซึ่งอาจได้รับประโยชน์จากกระบวนการให้คำปรึกษาของโครงการริเริ่ม เราจึงคิดว่าหากเราไม่สามารถไปยังโรงพยาบาลเหล่านี้ได้ ทำไมเราไม่พาโรงพยาบาลมาหาเราล่ะ
ในเดือนธันวาคม ปี 2017 เราเริ่มการทดสอบกับแนวคิดการฝึกสอนผู้ฝึกอบรม (Train the Trainer, TTT) แนวคิดง่าย ๆ คือเราขอเชิญแพทย์ พยาบาล และทีมรถพยาบาลจากโรงพยาบาลที่ยังไม่อยู่ในพื้นที่ของที่ปรึกษาที่เรามี และแนะนำกระบวนการและเครื่องมือในการให้คำปรึกษาของ Angels โดยหวังว่าพวกเขาจะนำการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกกลับสู่โรงพยาบาล ระดับภูมิภาคหรือแม้แต่ระดับประเทศ
นับจากนั้น เราได้จัดการประชุม TTT ห้าครั้งในประเทศเยอรมนี ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้าร่วมเกือบ 150 คนจากหลายประเทศ เช่น โครเอเชีย กรีซ มาซิโดเนีย มอลโดวา ไปจนถึงคีร์กีซสถาน และแม้ว่าเราจะยังค้นพบวิธีปรับปรุงโครงการฝึกอบรมอยู่เรื่อย ๆ เรามีความภูมิใจที่จะกล่าวว่าเราประหลาดใจที่หลักสูตรต่าง ๆ ได้รับการต้อนรับและสร้างผลกระทบได้มากถึงเพียงนี้
วันฝึกอบรมสองวันเต็มถูกแบ่งออกเป็นการประชุมหลักจำนวนมาก และเซสชันขนานสามเซสชัน การประชุมหลักจะประกอบด้วยการแนะนำให้รู้จัก Angels Initiative และเวิร์คช็อปเรื่องระยะก่อนถึงโรงพยาบาล หลังภาวะเฉียบพลัน และการติดตามคุณภาพ ซึ่งมักจะมีวิทยากรรับเชิญที่ได้รับการยกย่องในสาขาของตน เช่น ดร. Matej Polák (CEO ของ ZaMED EMS และประธานสมาคม EMS ในสโลวาเกีย) และ Andreaa Grecu (ผู้จัดการโครงการ RES-Q และสมาชิกคณะกรรมการกำกับและดูแล Angels ยุโรป)
จากนั้นจะแบ่งผู้เข้าร่วมเป็นสามกลุ่มสำหรับเซสชันขนานซึ่งผู้เข้าร่วมจะผลัดกันเรียนรู้วิธีตัดสินใจทางคลินิกที่ดีขึ้น พัฒนาทักษะในการอ่านภาพ CT และปรับปรุงการจัดการและแนวทางสำหรับโรคหลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตันเฉียบพลัน เซสชันขนานเหล่านี้มักจะนำโดย Angels ที่มีประสบการณ์ของเรา ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถดึงเอาประสบการณ์ที่หลากหลายจากประเทศต่าง ๆ ออกมาได้ เซสชันเหล่านี้ยังได้รับการสนับสนุนด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ขั้นสูงเช่น Body Interact สำหรับเซสชันการตัดสินใจทางคลินิก และ e-ASPECTS ของ Brainomix สำหรับส่วนการถ่ายภาพ CT
ระหว่างเวิร์คช็อป TTT ครั้งล่าสุดในเดือนธันวาคม ปี 2018 เราได้เพิ่มองค์ประกอบใหม่ที่น่าตื่นเต้นอย่างหนึ่งเข้ามา: การประชุมจำลองสถานการณ์นอกสถานที่ ซึ่งนำโดยดร. Paola Santalucia ผู้อำนวยการหน่วยประสาทวิทยาฉุกเฉินของโรงพยาบาลของตนในเมสซีนา ประเทศอิตาลี รวมถึงผู้ประสานงานสำหรับคณะกรรมการการจำลองสถานการณ์ของ ESO เช่นเดียวกับศูนย์จำลองสถานการณ์เต็มรูปแบบ เซสชันประชุมนี้เริ่มต้นด้วยการมอบบทบาทแพทย์ พยาบาล หรือทีมงานรถพยาบาลให้กับอาสาสมัครสามชุด (ที่ปรึกษา Angels จะเป็นผู้รับบทเป็นคนไข้และญาติ)
จากนั้นแต่ละกลุ่มจะพบกับสถานการณ์จำลองทางคลินิกที่ไม่ซ้ำกันซึ่งสร้างขึ้นจากเหตุการณ์จริงในอดีต และได้รับมอบหมายให้รักษาผู้ป่วยในขณะที่ผู้เข้าร่วมงานที่เหลือสังเกตการณ์ผ่านฟีดวิดีโอสดในอีกห้องหนึ่ง ทีมงานจะคอยทำให้ทุกสิ่งใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่นการมี (หรือขาด) ระบบแจ้งเตือนล่วงหน้า นักรังสีวิทยาพร้อมเรียกใช้ และเหตุไม่คาดฝันต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับข้อควรระวังที่เป็นไปได้ซึ่งสามารถทดสอบความรู้ของผู้เข้าร่วมงานเกี่ยวกับแนวทางของโรคหลอดเลือดสมองได้เป็นอย่างดี
ทันทีที่การจำลองสถานการณ์จบลง ทั้งกลุ่มจะมาชุมนุมกันใหม่เพื่อทำการอภิปรายเป็นกลุ่ม โดยมีดร. Santalucia เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายเพื่อเน้นจุดเด่นและจุดด้อยของทีมที่ปฏิบัติงาน สิ่งที่มักจะตามมาคือบทสนทนาที่มีประโยชน์อย่างยิ่งซึ่งไม่เพียงครอบคลุมความรู้ทางการแพทย์เท่านั้น แต่มักจะแตะทักษะด้านสังคมเช่นการปฏิบัติต่อเจ้าหน้าที่รถพยาบาลและญาติของผู้ป่วยอีกด้วย จากข้อติชมของผู้เข้าร่วมงาน ดูเหมือนการประชุมจำลองสถานการณ์จะกลายเป็นลักษณะเด่นประจำเวิร์คช็อป TTT ของเราในอนาคต
แม้ว่าจะมีการจัดงานซ้ำเพียงห้าครั้งเท่านั้นนับจากการประชุม TTT ของเราครั้งแรกในเดือนธันวาคม ปี 2017 เรารู้สึกว่าเวิร์คช็อปนั้นมีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก โดยมีการเพิ่มคุณค่าใหม่ ๆ ในการจัดงานครั้งถัดไปอยู่ตลอด เช่นเดียวกับที่โรงพยาบาลควรค้นหาวิธีปรับปรุงเวลาและคุณภาพในการรักษาของตนเองอยู่เสมอ เราก็จะพยายามปรับปรุงเวิร์คช็อปของเราโดยการค้นหาและทดลองวิธีการหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะสามารถติดเครื่องมือและความรู้ในเชิงปฏิบัติซึ่งสามารถนำมาใช้ภายในสภาพแวดล้อมของตนเองได้อย่างง่ายดายให้กับผู้เข้าร่วมงานอยู่เสมอ
คุณมีไอเดียให้เราหรือเปล่า