Imagine a stroke patient gets admitted to your hospital, undergoes all the necessary evaluations and is treated successfully with recanalisation. Everyone in the team feels they have made a difference. Now imagine all of that being undone because a swallowing screen is not performed on the patient.
โดยผู้ป่วยรายนี้คือหนึ่งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกือบ 70% จะต้องประสบกับภาวะกลืนลำบากไม่รูปแบบใดก็รูปแบบหนึ่ง ผู้ป่วยได้รับอาหารตามปกติ สำลักอาหาร เกิดเป็นโรคปอดอักเสบ แล้วเสียชีวิตที่บ้านในเดือนต่อมา
การดูแลภายในหน่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีการจัดการอย่างดีจึงเป็นสิ่งแรกที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ช่วยทำให้ผลการรักษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองดีขึ้นได้ และผู้ที่ต้องปฏิบัติงานหลายอย่างในหน่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผลการรักษาดีขึ้นนั้นก็คือพยาบาลนั่นเอง
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโมโทล (Motol University Hospital) ในประเทศสาธารณรัฐเช็ก ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลแห่งแรก ๆ ที่ได้เข้าร่วมในโครงการสหวิชาชีพที่นำโดยพยาบาล ซึ่งได้แก่โครงการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันอย่างมีคุณภาพ (QASC Europe) ซึ่งให้ความสำคัญเรื่องการปรับใช้ระเบียบการทางคลินิก ที่ได้แก่ อาการไข้ ระดับน้ำตาล การกลืน (FeSS) พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะกลืนลำบากภายในเวลา 24 ชั่วโมงแรกนั้นมีจำนวนต่ำกว่า 10% ตามหลักฐานข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ แต่หลังจากเริ่มนำระเบียบการ FeSS มาใช้ในโรงพยาบาลแล้ว ตัวเลขดังกล่าวก็ได้พุ่งสูงขึ้นจนเกือบถึง 100% เลยทีเดียว! ระดับของการปรับใช้ระเบียบการเรื่องอาการไข้ เพิ่มขึ้นจากประมาณ 45% เป็นประมาณ 60% และการปรับใช้ระเบียบการเรื่องระดับน้ำตาลกลูโคสก็เพิ่มขึ้นจากประมาณ 65% เป็นเกินกว่า 95%
ปัจจุบันสาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศที่มีอัตราโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ QASC Europe สูงสุด คือ 10 แห่ง และหากได้รับผลเช่นเดียวกับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโมโทลแล้ว ก็สามารถคาดหมายได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น
“Before, we did not consider treatment of glycemia, fever and swallowing as essential. The QASC Project helped us implement protocols for management of these vital functions, and now our patients have a greater chance to return to normal lives with decreased disabilities just by adding simple processes to our routine nursing care,” stated Petra Pöschlová (left), Head Nurse of Hospital Chomutov’s stroke unit and Jana Pospíchalová (right), the hospital’s QASC champion.
ด้วยแรงบันดาลใจที่ได้จากพยาบาลมากหน้าหลายตา จึงทำให้โรเบิร์ต ฮาวัลดา (Robert Havalda) ที่ปรึกษาของ Angels ประจำสาธารณรัฐเช็กของเรา ใช้เวลามากมายในการทำงานร่วมกับพยาบาลเพื่อเพิ่มพูนความรู้และสร้างแรงกระตุ้นให้แก่พยาบาลเหล่านั้น ด้วยการทำงานร่วมกับสมาคมโรคหลอดเลือดสมองแห่งสาธารณรัฐเช็กอย่างใกล้ชิด และด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จาก อ. เทเรซา โกลาชนา (Mgr. Tereza Koláčná) หัวหน้าพยาบาลหน่วยโรคหลอดเลือดสมองครบวงจรของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโมโทลและผู้ได้รับรางวัลจิตวิญญาณแห่งความเป็นเลิศ 2019 เราจึงได้จัดการประชุมพยาบาลโรคหลอดเลือดสมองของสาธารณรัฐเช็กขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ปี 2019 โดยมีพยาบาลจากแทบทุกศูนย์ในประเทศเข้าร่วมโครงการจนเต็มความจุ 80 คนหลังจากการประกาศเรื่องงานประชุมเพียงไม่กี่สัปดาห์
การประชุมวาระแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองโดยทั่วไป ได้แก่ เส้นทางของผู้ป่วยเริ่มตั้งแต่บริการ EMS ขั้นตอนกระบวนการภายในโรงพยาบาล การรักษา และโครงสร้างของเครือข่ายโรคหลอดเลือดสมองในสาธารณรัฐเช็ก โดยมีนักประสาทวิทยาและบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพซึ่งมาจากคณะกรรมการทิศทางของ Angels ระดับประเทศเป็นผู้นำเสนอ
วาระที่สองได้กล่าวถึงการทำงานของพยาบาลโดยเฉพาะ โดยมีประเด็นหลักคือเรื่องการทำงานของพยาบาลในหน่วยโรคหลอดเลือดสมอง การให้การรักษา ภาวะกลืนลำบาก ภาวะบกพร่องในการสื่อสาร และการบำบัดฟื้นฟู มีการขอให้พยาบาลบางคนเล่าเรื่องเกี่ยวกับหน่วยโรคหลอดเลือดสมองและเส้นทางผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลของตน ทำให้ทุกคนมีโอกาสได้มองเห็นความแตกต่างที่สำคัญ ได้สอบถามข้อมูลและร่วมแบ่งปันประสบการณ์
ตลอดทั้งงาน เราสามารถสัมผัสถึงความตื่นเต้นดีใจได้อย่างชัดเจน รวมถึงกลุ่มสังคมใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อพยาบาลจากทั่วประเทศต่างแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการติดต่อกัน
อ. Tereza Koláčná claimed that the congress “…has dramatically changed my point of view on the role of the nursing staff in stroke care. I am more aware of nurse irreplaceability in the healthcare system and the necessity of interconnection with physicians and other healthcare staff. I am very glad I had an opportunity to know my nurse colleagues from majority of hospitals in the Czech Republic.”
โครงการริเริ่มครั้งที่ 3 ซึ่งมีเป้าหมายที่กลุ่มพยาบาลในสาธารณรัฐเช็ก เป็นการลงทะเบียนเข้าร่วมในหลักสูตรใบรับรองพยาบาลโรคหลอดเลือดสมองออนไลน์ของ Angels หลักสูตรดังกล่าวเปิดตัวขึ้นเมื่อปี 2018 ปัจจุบันให้บริการถึง 13 ภาษาและได้มอบความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลผู้ป่วยในทางปฏิบัติให้แก่พยาบาลกว่า 6,000 คนทั่วโลก เป็นหลักสูตรการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ประกอบด้วยโมดูลทั้งสิ้น 20 โมดูล พร้อมแบบทดสอบร่วมที่ครอบคลุมทุกแง่มุมในเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีพยาบาลกว่า 150 คนจากโรงพยาบาล 19 แห่งในสาธารณรัฐเช็กได้เรียนจบหลักสูตรนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยยังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขณะนี้ โรงพยาบาลมาซาริก (Masaryk Hospital) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอูสตีนัดลาเบม (Ústí nad Labem) เป็นผู้ครองสถิติจำนวนพยาบาลที่มีใบรับรองสูงสุดในสาธารณรัฐเช็ก โดยมีพยาบาลที่เรียนจบหลักสูตรนี้ถึง 36 คน
MUDr.Ing David Černík PhD., Head Physician of the stroke unit, attributed this as a key factor in reducing their treatment time by nearly half. “The most remarkable benefit for patient care was the reduction of median door-to-needle time from 27 to 15 minutes, which would not have been achieved without top-quality work of well-educated stroke nurses,” he asserted.
การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายแผนก เราจึงเชื่อมั่นว่าการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่าย ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ EMS และพยาบาลประสานความร่วมมือ มีแรงผลักดัน มีความรู้ และมีการทำงานเป็นทีมที่ดี เรามีความภูมิใจอย่างยิ่งที่ขณะนี้กลุ่มพยาบาลในสาธารณรัฐเช็กได้สร้างเครือข่ายของตนเองขึ้น ตลอดจนได้ก่อตั้งคณะกรรมการทิศทางพยาบาลของ Angels ในยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก กระแสของพยาบาลนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วทั้งสาธารณรัฐเช็กอย่างรวดเร็ว โดยเราเองก็จะทุ่มเทเต็มที่เพื่อทำให้กระแสนี้กระจายไปจนทั่วทั้งทวีปยุโรป!